วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         


 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีอัตราการสอบแข่งขันเข้าเรียนมากที่สุดในภูมิภาค มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเก้ามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นและสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีต่อการพัฒนายกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ พระองค์เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน (ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 9 คน ผู้รักษาการแทนฯ 7 คน) อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย

    ตราประจำมหาวิทยาลัย   ลักษณะตราสัญลักษณ์เป็นตามแนวคิดของพระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ซึ่งให้นายพินิจ สุวรรณะบุณย์เป็นผู้ยกร่าง ในชั้นแรกนั้นเป็นรูปพระธาตุพนม ทั้งสองข้างมีลายช่อกนกเปลวลอย ส่วนล่างสุดขององค์พระธาตุเป็นชื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นบนแพรแถบ ต่อมาพระยาอนุมานราชธนได้นำร่างดังกล่าวปรึกษาหาหรือกับผู้ออกแบบและท่านผู้รู้แห่งราชบัณฑิตยสถาน เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขลายกนกเป็นรูปเทวดาอัญเชิญมิ่งขวัญสิริมงคลพนมประทานสู่สถาบัน และเปลี่ยนแถบแพรป้ายชื่อเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นอยู่บนขอนไม้ พื้นหลังแบ่งเป็น ๓ ช่อง มีความหมายถึง คุณธรรมของนักศึกษา ๓ ประการ ได้แก่
  • วิทยา คือ ความรู้ดี
  • จริยา คือ ความประพฤติดี
  • ปัญญา คือความฉลาด เกิดแต่การเรียนดี และคิดดี
สาเหตุที่กำหนดให้พระธาตุพนมเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น เนื่องจากตระหนักว่าพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานสำคัญ เป็นมิ่งขวัญสิริมงคลอันเป็นที่เคารพบูชาของ ชาวไทย-ลาว ทั้งสองฝั่งโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็เช่นเดียวกัน ที่จะต้องเป็นศูนย์รวมความคิด สติปัญญาของสังคมและเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



สิ่่งศักดิ์สิทธิ์ 



เจ้าพ่อมอดินแดง
ผศ.เข้มแข็ง สีตะธนี อาจารย์ผู่ร่วมบุกเบิกมหาวิทยาลัยเล่าถึงตำนานของศาลเจ้าพ่อมอดินแดงว่า " มีชายไทยคนหนึ่ง ชื่อนายเหลา สีแดง ไปขโมยช้างจากบุรีรัมย์ แล้วเจ้าของตามมาทัน มาฆ่าเอาในเขตมหาวิทยาลัย ถูกนำตัวฝังทั้งเป็น จึงกลายเป็นเจ้าพ่อมอดินแดง "
ในระยะแรกๆ นั้น เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง คณาจารย์ของเราชุดหนึ่งก็ประสบอุบัติเหตุทางรถเสียชีวิตหลายท่าน คนงานสร้างตึกเคมีก็ไปถูกรถชนตาย นักศึกษาเองก็แตกแยก ยกพวกทำร้ายกัน อะไรต่างๆเหล่านี้ล้วนฉุกให้คิด ก็เลยได้มีการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อมอดินแดงขึ้นมา ในสมัยศาสตราจารย์พิมล กลกิจ ทั้งนี้เพื่อความเป็นศิริมงคล "
โดยทำพิธียกศาลในเดือนมิถุนายน 2509 ศาลเจ้าพ่อมอดินแดงจึงได้เป็นที่เคารพสักการะ และนักศึกษาใหม่ต้องทำพิธีไหว้เจ้าพ่อมอเพื่อฝากตัวเป็นลูกเจ้าพ่อมอดินแดงทุกคน (ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ ผศ.เข้มแข็ง สีตะธนี 21 ตุลาคม 2531 หนังสือครบรอบ 25 มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ปี ๒๕๔๗ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการก่อสร้าง ศาลาธรรมสถาน เจ้าพ่อมอดินแดงขึ้นใหม่โดยนับเนื่องเข้าเป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมฉลองในวาระที่มหาวิทยาลัยสถาปนามาครบ 40 ปี ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแกนนำในการดำเนินงาน และด้วยสำนึกแห่งกตัญญูกตเวทิตาต่อสถานศึกษา จึงมิได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด

  1.  ขอบคุณที่มา :     http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น